เทคนิคซื้อเพชร : เลือกซื้อเพชรใบเซอร์ไหนดี? GIA หรือ HRD

กว่าเราจะหาซื้อเพชร 1 กะรัต เพื่อทำแหวนหมั้นแหวนแต่งงานได้สักเม็ด ต้องทำการบ้านเพื่อเปรียบเทียบราคาเพชร ติดต่อร้านเพชรออนไลน์ หรือจะเดินตรงเข้าหน้าร้านเพชรเพื่อขอปรึกษาหาความรู้เรื่องเพชรเพิ่มเติมก็ตาม แต่เมื่อตัวเลือกเพชรมีมากมาย เราจะเลือกอย่างไรเพื่อให้ได้เพชรราคาดี และตรงกับคุณภาพที่ผู้ขายเสนอจริง 

 

สำคัญกว่าการซื้อเพชรที่ไหนดี คือความเข้าใจพื้นฐานในการซื้อเพชร คาเล็ท ไดมอนด์ จึงขอแนะนำเทคนิคการเลือกซื้อเพชร 5 ข้อ ไว้ ดังนี้ค่ะ

  1. เข้าใจหลักประเมินคุณภาพของเพชรพื้นฐาน เช่น 4Cs (Carat, Color, Clarity, Cut) อันส่งผลต่อราคาเพชร

  2. เลือกซื้อเพชรที่มีใบเซอร์เพชร จากสถาบันเกรดเพชรที่ได้การยอมรับทั่วโลก เช่น GIA HRD

  3. ศึกษาองค์ประกอบใบเซอร์เพชรของแต่ละสถาบันอย่างละเอียด

  4. เข้าใจหลักเกณฑ์การเกรดเพชร และข้อแตกต่างกันระหว่าง GIA และ HRD

  5. ตรวจสอบเพชรให้ตรงกับใบเซอร์ เช่น ส่องกับตัวหนังสือ ใช้เครื่องชั่ง ดูผ่านกล้องขยาย

 

แน่นอนว่า การซื้อเพชรมักมาคู่กับการอ่านใบเซอร์เพชร (Diamond Certificate) หรือ ใบรับรองคุณภาพเพชร ที่ระบุรายละเอียดคุณภาพของเพชร ตามหลัก 4Cs ไม่ว่าจะเป็น Carat / Color / Clarity และ Cut รวมถึงรายละเอียดอื่น ๆ เช่น Fluorescence หรือ เพชรติดฟลู หรือไม่ รูปทรงของเพชร เพชรเล่นไฟดี ตำแหน่งของตำหนิต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งการมีใบเซอร์จะทำให้คุณอุ่นใจเวลาซื้อเพชร หรือขายเพชรต่อ ว่าเป็นเพชรแท้แน่นอน 100%

ใบเซอร์เพชรก็มีหลายสถาบัน อาทิ GIA HRD IGI คำถามคือว่า แล้วใบเซอร์เพชรสถาบันไหนดีล่ะ? คาเล็ท ไดมอนด์ จะขอเล่าถึงใบเซอร์เพชรแต่ละแบบ เพื่อปูพื้นฐานให้คุณสามารถอ่านใบเซอร์เพชรได้อย่างถูกต้อง และใช้เป็นแนวทางการซื้อเพชรในอนาคตอีกด้วยค่ะ

 

1.ใบเซอร์ GIA

ใบเซอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ GIA ย่อมาจาก Gemological Institute of America เป็นสถาบันด้านอัญมณีศาสตร์ในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2474 เพื่อสร้างมาตรฐานในการวิเคราะห์และประเมินอัญมณีในฐานะองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ถือเป็นองค์กรที่กำหนดมาตรฐานของเพชรรายแรก ๆ ของโลก รวมถึงผลิตนักวิเคราะห์อัญมณีที่ดีที่สุด จึงได้รับการยอมรับในเรื่องการประเมินเพชรและเครื่องประดับ รวมถึงการออกใบรับรองต่าง ๆ ที่มีมาตรฐานมากที่สุดในอุตสาหกรรมจิวเวลรี ปัจจุบันมีสำนักงานใน 13 ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย 

ทั้งนี้ ใบเซอร์เพชร GIA มีทั้งหมด 2 ชนิด ทั้งแบบย่อ สำหรับเพชรที่มีขนาดต่ำกว่า 1 กะรัต และ แบบเต็ม สำหรับเพชรขนาด 1 กะรัต ขึ้นไป ได้แก่

1.1 ใบเซอร์ GIA แบบย่อ สำหรับเพชร 0.30 กะรัต จนถึงเพชร 0.99 กะรัต

ใบเซอร์ GIA ราคาเพชร ร้านเพชรออนไลน์ เพชรราคาดี แหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน

1.2. ใบเซอร์ GIA แบบเต็ม สำหรับเพชร 1 กะรัต ขึ้นไป

เลือกซื้อ เพชรใบเซอร์ GIA แหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน
 

2. ใบเซอร์ HRD
ใบเซอร์อีกค่ายหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันก็คือ ใบเซอร์ HRD ย่อมาจาก Hoge Raad voor Diamant (Diamond High Council) เป็นองค์กรด้านอัญมณีศาสตร์ของยุโรป ก่อตั้งเมื่อปี 2516 มีสำนักงานอยู่ที่เดียวคือ เมืองแอนต์เวิร์ป (Antwerp) ประเทศเบลเยียม ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเพชรและศูนย์กลางการเจียระไนที่ใหญ่ที่สุดในโลก

สำหรับหน้าตาของใบเซอร์ HRD จะมี 2 แบบ ทั้งแบบเต็ม สำหรับเพชร 1 กะรัตขึ้นไป และ แบบย่อ สำหรับเพชรต่ำกว่า 1 กะรัตลงมา ดังภาพ

2.1 ใบเซอร์ HRD แบบเต็ม สำหรับเพชร 1 กะรัตขึ้นไป

ซื้อ ขาย ใบเซอร์เพชร HRD แหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน

2.2 ใบเซอร์ HRD แบบย่อ สำหรับเพชรต่ำกว่า 1 กะรัตลงมา

ซื้อ ขาย เพชรใบเซอร์ HRD เพชรแท้ แหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน

ทั้งใบเซอร์ HRD และ ใบเซอร์ GIA ต่างก็มีลักษณะใบเซอร์ที่คล้ายกัน โดยที่ใบเซอร์ฉบับย่อ จะมีการระบุว่า มีตำหนิของเพชรประเภทไหนบ้าง แต่ไม่ได้ระบุว่า อยู่ตรงตำแหน่งไหนของเพชร ขณะที่ใบเซอร์ฉบับเต็ม จะมีการจำแนกประเภทของตำหนิพร้อมแสดงตำแหน่งของตำหนิในเนื้อเพชรด้วย นอกจากนี้ใบเซอร์แบบเต็มยังได้เสนอรูปแบบการเจียระไนของเพชรเม็ดนั้น ๆ ว่ามีการเจีย (Facet)ในรูปแบบไหนด้วย

 

วิธีการวัดและประเมินเกรดของเพชร
มาตรฐานหลักการประเมินคุณภาพเพชร ทั้งในใบเซอร์ GIA และ ใบเซอร์ HRD ต่างก็ใช้องค์ประกอบ 4Cs (Carat, Color, Clarity Cut) ทั้งคู่ เปรียบเทียบดังตารางได้ดังนี้ค่ะ

 

ตาราง A วิธีการวัดและประเมินเกรดของเพชร

4Cs คืออะไร เพชรแท้ GIA HRD แหวนหมั้น แหวนเพชร แหวนแต่งงาน

แล้วใบเซอร์ GIA หรือ ใบเซอร์ HRD อันไหนดีกว่ากันล่ะ?

ทั้ง GIA และ HRD ต่างก็มีมาตรฐาน เกณฑ์การประเมินคุณภาพ และเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์เป็นของตัวเอง อีกทั้งวิธีการวัดเกรดเพชรใบเซอร์ GIA และใบเซอร์ HRD ก็มีความคล้ายกัน เช่น สี Exceptional White - Exceptional White+ ของ HRD เทียบเท่า  Colorless ของ GIA เป็นต้น 

แต่ถ้าพูดถึงเกณฑ์ในการเกรดเพชรของทั้งสองสถาบันนั้น ต่างกันแน่นอน คาเล็ท ไดมอนด์ จึงขออธิบายให้เห็นภาพการเกรดเพชรทั้งสองสถาบัน ดังตาราง B

 

ตาราง B เปรียบเทียบ GIA VS HRD

ซื้อเพชรใบเซอร์ GIA หรือ HRD ดี แหวนหมั้น แหวนเพชร แหวนแต่งงาน

จากตาราง B เกิดจากการที่ลองนำเพชรหนึ่งเม็ด ส่งไปทำใบเซอร์กับ GIA และหลังจากนั้น นำเพชรเม็ดเดียวกันนี้ ส่งไปทำใบเซอร์กับ HRD จะเห็นภาพได้ชัดเจนถึงความแตกต่างในเกณฑ์การประเมินของทั้งสองสถาบัน โดยที่ GIA จะให้คุณภาพต่ำกว่า HRD อย่างน้อย 1-2 เกรด 

 

หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง เช่น ถ้า HRD เกรดเพชรเม็ดนี้ว่าเป็น 1 กะรัต F/VVS2 เพชรเม็ดเดียวกันนี้จะมีโอกาสสูงมากที่จะได้เกรด 1 กะรัต G-H/VVS2-VS1 เมื่อส่งไปเกรดกับ GIA

 

ในมุมมองของผู้ซื้ออาจคิดว่าเพชร HRD นั้นมีคุณภาพสูงกว่า และได้ราคาที่เท่ากันหรือต่ำกว่า GIA ทำให้เพชร HRD ดูราคาถูกกว่าขึ้นมาทันที

 

แต่หารู้ไม่ว่า เป็นเพราะ หลักเกณฑ์ของ HRD ต่างหากที่ประเมินคุณภาพเพชรให้สูงกว่า GIA จึงทำให้ผู้ซื้อหลายท่านเข้าใจว่าได้เพชรในคุณภาพที่สูงกว่าในราคาที่ถูกกว่า และมองสองสถาบันเป็นเพียงผู้การันตีคุณภาพ แต่ไม่ได้เข้าใจถึงเกณฑ์การประเมินคุณภาพเพชรที่แท้จริง

 

เราต้องเข้าใจก่อนว่า การซื้อขายเพชรใบเซอร์ GIA ได้รับความนิยมและกว้างขวางที่สุดในตลาดค้าขายเพชร อีกทั้ง GIA ลงรายละเอียดลึกในการคัดเกรดและประเมินคุณภาพเพชร เพื่อสะท้อนคุณสมบัติที่แท้จริงของเพชรให้มากที่สุด หากคุณถือเพชรใบเซอร์ HRD อยู่ เราขอแนะนำให้ลดเกรดเพชร HRD ลงมา 1-2 เกรด เพื่อเปรียบเทียบมูลค่าที่แท้จริงกับเพชรใบเซอร์ GIA ค่ะ

 

หลายคนคิดว่า เพชรใบเซอร์ GIA มีราคาแพง ขณะที่เพชรใบเซอร์ HRD ราคาถูก คาเล็ท ไดมอนด์ ขอบอกเลยว่าเพชรที่มีใบรับรอง GIA ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีราคาแพงกว่าเพชรที่มีใบรับรอง HRD เสมอไป สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนคือ เพชรสเปคเดียวกันแต่ใบเซอร์คนละแบบ หากคุณไม่เข้าใจมาตรฐานการให้เกรดของแต่ละสถาบัน อาจทำให้คุณต้องจ่ายเงินซื้อเพชรในราคาที่สูงกว่าความเป็นจริง นั่นหมายความว่า คุณอาจได้เพชร F Color ในราคา D Color แต่ถ้าโชคดีคุณอาจได้เพชรสเปคที่ถูกใจราคาเหมาะสมไปครอง

 

มองหาเพชรแท้ GIA HRD IGI หรือ สอบถามราคาเพชร เพชรกลม หรือเพชรแฟนซีต่าง ๆ คุณภาพ GIA สามารถพูดคุยกับเราได้ที่ 

Facebook: Calette Diamonds เพชร GIA แหวนเพชร แหวนหมั้น

Instagram: calette_diamonds

Website: www.calettediamonds.com 

Line: @Calettediamonds ใส่@ข้างหน้าด้วยนะคะ

Previous
Previous

เทคนิคการซื้อเพชร : ควรซื้อเพชรมีใบเซอร์ หรือ ไม่มีเซอร์ ?

Next
Next

5 เรื่องราวขอแต่งงานสุดฟิน ต่อยอดไอเดียได้