ถาม-ตอบ Q&A “เพชรแท้ธรรมชาติ VS Lab Grown Diamond”

เพชร Lab Grown Diamond คือเพชรที่มีลักษณะทางกายภาพ และการเล่นไฟเหมือนเพชรแท้ธรรมชาติ ผ่านการผลิตด้วยกรรมวิธีที่จำลองการก่อตัวตามธรรมชาติ ในระยะเวลาที่สั้นลงจากหลายล้านปี เหลือเพียง 1-2 เดือน โดยใช้อุปกรณ์ภายในห้องทดลองควบคุม 

 

เนื่องด้วยเพชรแท้ธรรมชาติเป็นของหายาก จึงมักจะผูกโยงกับเรื่องของมูลค่าการลงทุน คุณค่าทางจิตใจที่มีต่อผู้ครอบครอง ความรักอันเป็นนิรันดร์ ดังที่ปรากฏในนิยายและความเชื่อต่างๆ ที่สืบทอดกันมาหลายร้อยปี จนกระทั่งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ หลายท่านคงเคยรู้จักเพชร Lab Grown Diamond มาบ้าง จึงอาจสงสัยว่า เพชร Lab Grown Diamond เป็นเพชรสังเคราะห์หรือเปล่า คาเล็ท ไดมอนด์ ขอรวบรวมคำถามที่พบบ่อยมาเล่าให้ฟังกันนะคะ

 

เพชรจากแล็บ VS เพชรธรรมชาติ ต่างกันอย่างไร?

เพชร Lab Grown Diamond ต่างจากเพชรธรรมชาติ อย่างแรกเลยคือ แหล่งที่มาของเพชรทั้งสองชนิด โดยเพชรแท้ธรรมชาติเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติ 100% ผ่านแรงกดดันใต้ผิวโลกที่ลึกกว่า 150-200 กิโลเมตร เป็นระยะเวลานานหลายล้านปี ก่อนที่มนุษย์จะนำมาเจียระไนและขัดตกแต่งจนสวยงาม 

ขณะที่เพชร Lab Grown Diamond เกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยอาศัยการจำลองการเกิดผลึกแบบเดียวกัน แต่ดำเนินการในห้องทดลองในระยะเวลาที่สั้นลงมากๆ จากหลายล้านปีเหลือเพียง 1-2 เดือน ก่อนนำมาเจียระไนค่ะ

เมื่อมองด้วยตาเปล่า เราคงแยกไม่ออกระหว่างเพชร 2 ชนิดนี้ได้แน่ๆ นักอัญมณีศาสตร์จึงใช้ ธาตุไนโตรเจน (N) เป็นเกณฑ์ค่ะ เพชรแท้ธรรมชาติจะพบไนโตรเจน แต่เพชร Lab Grown Diamond จะไม่มีไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบเลยค่ะ

 

เพชร Lab Grown Diamond มีขั้นตอนการผลิตอย่างไร?

บางครั้ง ผู้คนเรียก Lab Grown Diamond ว่าเป็นเพชรที่มนุษย์ผลิตขึ้นบ้าง เพชรสังเคราะห์บ้าง เพชรที่ถูกเพาะเลี้ยง แม้กระทั่งถูกกล่าวขานว่าเป็น “ช่างฝีมือ” คำเรียกแบบนี้อาจทำให้ผู้บริโภคสับสนได้ ทุกคำที่กล่าวมา คือเพชรที่ผ่านการรับรองซึ่ง “ปลูก” ในห้องแล็บทั้งสิ้น


กระบวนการผลิตเพชร Lab Grown Diamond มี 2 วิธี ได้แก่ Chemical Vapor Deposition Diamonds (CVD) และ High Pressure High Temperature Diamonds (HPHT)

Cr. ABC

Cr. ABC

  1. Chemical Vapor Deposition Diamonds (CVD)
    กระบวนการผลิตเพชร Lab Grown Diamond “เมล็ดคริสตัล” ซึ่งเป็นเมล็ดเพชรขนาดเล็กมาก ถูกวางไว้ในโถงเล็กๆ ที่รมด้วยก๊าซความร้อนสูง เมื่อก๊าซถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม ชั้นของคาร์บอนจะเริ่มก่อตัวบนผลึกของเมล็ดคริสตัล ทำให้เมล็ดเติบโตกลายเป็นผลึกเพชรรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส

Cr. GIA.edu

2. High Pressure High Temperature Diamonds (HPHT)
กระบวนการที่จำลองการก่อตัวของเพชรในธรรมชาติ โดยการวางแผ่นแกรไฟต์ภายในเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่บดอัดด้วยแรงดันและอุณหภูมิที่สูงมาก ด้วยเงื่อนไขเช่นนี้เองทำให้แกรไฟต์เปลี่ยนเป็นเพชรได้

Cr. GIA.edu
 

เราจะแยกแยะความแตกต่างของเพชร CVD กับ HPHT ได้อย่างไร?

คนทั่วไปเมื่อมองด้วยตาเปล่า คงแยกแยะความแตกต่างระหว่าง CVD and HPHT ไม่ออก เพราะทั้งสองวิธีการมีการก่อตัวของเพชรที่มีลักษณะทางกายภาพและทางเคมีชนิดเดียวกับเพชรแท้ธรรมชาติ และมีการเกรดเพชรโดยใช้หลักการ 4Cs เหมือนกันอีกด้วย

 
lab grown post_IG_1.png

ใบเซอร์ GIA & IGI สำหรับเพชรจากแล็บ

เนื่องจากเพชร Lab Grown Diamond มีลักษณะทางเคมีเหมือนกับเพชรธรรมชาติ จึงได้ใบเซอร์รับรองเหมือนกัน ปัจจุบัน Lab Grown Diamond ส่วนใหญ่ได้รับการรับรองโดยสถาบัน IGI โดยใบเซอร์เพชรของ IGI จะประเมิน 4Cs การเจียระไน สี ความสะอาด และน้ำหนักกะรัต ที่แม่นยำตามมาตรฐานสากลที่เข้มงวด นอกจากนี้ GIA ก็ยังให้การรับรองเพชรจากแล็บด้วยเช่นกัน โดยพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์และแยกแยะความแตกต่างระหว่างเพชรธรรมชาติและเพชร Lab Grown Diamond ค่ะ

ราคาของ Lab Grown Diamond ลดลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะที่ความต้องการเพิ่มขึ้นสูงขึ้น เพชรจากแล็บมีมูลค่าอยู่ เพียงแต่ว่าตลาดมีการกำหนดราคาขายต่อเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับราคาขายต่อของเพชรธรรมชาติ 

ใบเซอร์ GIA สำหรับ เพชร Lab Grown Diamond

ใบเซอร์ IGI สำหรับ เพชร Lab Grown Diamond

ใบเซอร์ IGI สำหรับ เพชร Lab Grown Diamond

เพชรแท้ GIA สั่งทำ แหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน

เพชรแท้ GIA สั่งทำ แหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน

 

สรุป

ไม่ว่าคุณจะซื้อเพชรธรรมชาติ หรือ เพชร Lab Grown Diamond สิ่งสำคัญคือในการซื้อขายนั้น จะต้องมีใบเซอร์มาคู่กันเสมอ เพื่อยืนยันว่า เพชรที่คุณได้รับสอดคล้องกับคุณภาพและมูลค่าที่แท้จริง และใช้อ้างอิงเพื่อการซื้อขายต่ออย่างถูกต้องค่ะ ลูกค้าคาเล็ท ไดมอนด์ ตรวจสอบเพชร Lab Grown ฟรีที่นี่ค่ะ

 

หากคุณกำลังวางแผนสั่งทำแหวนแหวนเพชร แหวนหมั้น แหวนแต่งงาน แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ร่วมพูดคุยและนัดหมายกับทีมงานคาเล็ท ไดมอนด์ ได้ที่

Line: @calettediamonds 

Facebook Fanpage: Calette Diamonds : เพชร GIA แหวนเพชร แหวนหมั้น

Instagram: calette_diamonds

Previous
Previous

Nickel Allergy อาการมันเป็นยังไง? แพ้เครื่องประดับ แพ้ “นิกเกิล” ในเครื่องประดับ

Next
Next

เทคนิคการซื้อเพชร : ควรซื้อเพชรมีใบเซอร์ หรือ ไม่มีเซอร์ ?